Sunday, November 3, 2013

True Love ของ "นายผี"?

by สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล on Tuesday, September 17, 2013




True Love * ของ "นายผี" ?
[* ดู "นิยาม" True Love ตอนท้ายของกระทู้นี้]

Vous me quittez pour aller a la gloire;
Mon triste coeur suivra partout.

กุลิศ อินทุศักดิ์ (อัศนี พลจันทร), "สัมไป ฮาตี" อักษรสาส์น, มิถุนายน 2492

("นายผี" ยกคำนี้ใส่ในบทสนทนา ในเรืองสั้น โดยไม่บอกที่มา อันที่จริง นี่เป็นคำที่มาจาก Les misérables ของ Victor Hugo แปลเป็นอังกฤษว่า "You leave me to go to glory; my sad heart will follow you everywhere." หรือผมแปลเป็นไทยเองว่า "เธอทิ้งฉันไปสู่ความรุ่งโรจน์; ดวงใจอันเศร้าโศกของฉันจะติดตามเธอไปทุกหนทุกแห่ง")

...................


ใครที่คุ้นเคยกับงานของ "นายผี" คงรู้ว่า นายผี เขียนเรื่องสั้นไว้จำนวนหนึ่ง โดยใช้ ปัตตานีเป็นฉาก นายผี เคยรับตำแหน่งเป็นอัยการทีปัตตานีอยู่ประมาณ 2-3 ปี ระหว่าง 2484-2487 โดยมี "ตัวเอก" ชายของเรื่อง ชื่อ "กุลิศ" (คงหมายถึงตัวเขาเอง)

และในเรื่องสั้นเหล่านั้น นายผี มักจะกล่าวถึงตัวละครหญิงสาวคนหนึ่ง ผู้มีเชื้อสายมาเลย์ ชื่อ "ฟาติมะห์" ซึงเป็นนักชาตินิยมและนักปฏิวัติ (ใน "สัมไป ฮาตี" นายผี กล่าวว่า เธอคือ "ผู้แทน วารตา อินโดเนเซีย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลในหมู่เกาะชะวา หล่อนเป็นลูกผู้ดีในกลันตัน แต่เป็นเลขาธิการของสมาคมเกามอีบู ซึงเป็นสมาคมสตรีของพรรคคอมมูนิสต์มะลายู")

คุณอัศนี ("กุลิศ") เขียนบรรยายถึง "ฟาติมะห์" ด้วยภาษาที่ชวนให้รู้สึกว่า ถ้าหาก "ฟาติมะห์" เป็นตัวละครทีสร้างขึ้นมาจากคนที่มีตัวตนจริงๆ (เหมือนกรณี "กุลิศ" เอง) คุณอัศนีอาจจะมีความรู้สึกรักต่อหญิงสาวผู้นั้น ก็ได้ แม้คงจะเป็นรักทีไม่สมหวัง

ในชีวิตจริง คุณอัศนี หลังจากเป็นอัยการอยู่ปัตตานีแล้ว ก็ได้รับการย้ายมาเป็นอัยการที่สระบุรี ซึงที่นั่นเอง คุณอัศนี ได้พบและแต่งงานกับคุณวิมล หรือที่รู้จักกันในภายหลังว่า "ป้าลม" จนตลอดชีวิตของคุณอัศนี

ใครทีติดตามเรือ่งราวของคุณอัศนี ใกล้ชิด ก็คงพอรู้ว่า "ป้าลม" คงไมใช่คนที่ "การเมือง" นัก (โดยเฉพาะในบรรทัดฐานขบวนปฏิวัติสมัยก่อน) จีรนันท์ พิตรปรีชา เคยกล่าวถึงเรืองนี้ว่า

"ชีวิตคู่ของลุงไฟกับป้าลม เป็นเรืองที่หลายๆคนไม่ยอมทำความเข้าใจ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะลมปากของคู่ปรปักษ์เก่าๆ ที่คอยกระพือคำจำกัดความสำเร็จรูปอย่าง "ศักดินา" หรือ "ล้าหลัง" อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะความใจเด็ดยืนหยัดไม่ปฏิวัติ(วัฒนธรรม)ของป้าเอง..."

(น่าสังเกตด้วยว่า ในประวัตินายผี ทีมีการเล่ากัน รวมทั้ง โดยเฉพาะ โดยการเล่าของ "ป้าลม" เอง แม้แต่ในหนังสือรวมงานนายผี ที่ สำนักพิมพ์ อ่าน กำลังพิมพ์ จะไม่มีการกล่าวเลยว่า "นายผี" พบรักและแต่งงานกับป้าลม เมื่อไร คนอานจะต้องหาอ่่าน อย่างสังเกตเอง โดยเฉพาะจากข้อเขียนทีชื่อ "ความงามของชีวิต" โดย "ฟองจันทร ทะเลหญ้า" (นามปากกา "ป้าลม") ซึงเล่าว่า สมัยคุณอัศนี อยู่ปัตตานี ยังไม่รู้จักกัน แต่มารู้จักเมื่อคุณอัศนี ย้ายมาสระบุรี โดยที "ป้าลม" คงเป็นคนที่นั่นอยู่ก่อน)

ในปี 2528 เมื่อนิตยสาร "ถนนหนังสือ" จัดทำ "ฉบับพิเศษ" เรือง "นายผี" ได้อุตส่าห์ดั้นด้นไปเสาะหา "ฟาติมะห์ ตัวจริง" จนพบ ภาพทีผมนำมาแสดงนี้ คือบทสัมภาษณ์ที่ เอามาจากนิตยสารดังกล่าว (ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ตุลาคม 2528)

......................

* มีบางคน ให้คำนิยามของ True Love ว่า a long-lasting, unrequited love (ความรักที่ไม่สมหวัง รักไม่ได้รับการตอบสนอง แต่ยังรักอยู่เป็นเวลานาน)

มีบางคนมาเสริมว่า อาจจะหมายถึง a long-lasting, forbidden love?
For example two people, madly in love with each other, but cant be together. ก็ได้

ถ้ามองแบบ cynical นัยยะของไอเดียที่นิยามแบบนี้ คือ ถ้าสมหวัง อยุ่ด้วยกันจริงๆ อาจจะไม่รู้สึกว่า รักอย่างรุนแรงถึงขั้นเป็น True Love ก็ได้ คือคนเรา เวลาอยู่ด้วยกัน ความรักก็ย่อมจางลงไป แต่ถ้าเป็น unrequited หรือ forbidden แต่ยังรักษาความรักไว้ได้ ก็จะรู้สึกรุนแรง มากกว่า ความรักทีสมหวังเสียอีก

แต่แน่นอน คนทีรู้สึกเรือง True Love คงรู้สึกว่า นี่เป็นความรู้สึกจริง เป็นเรืองจริง ไม่เกี่ยวกับการทีเป็นเรื่อง unrequited หรือ forbidden แต่อย่างใด จึงรู้สึกรุนแรงเช่นนั้น