Sunday, November 3, 2013

"นักโทษการเมืองที่ไม่มีใครรู้จัก"

by สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล on Tuesday, August 6, 2013






ผมอ่านบทความของ อ. Thanavi Chotpradit ใน "อ่าน" เล่มใหม่ ด้วยความรู้สึกตื่นเต้นเซอร์ไพรซ์ (ขอบคุณ สำนักพิมพ์ อ่าน สำหรับ "ของฟรี" เช่นเคย  แหะๆ ช่วยโฆษณาให้แล้วนะครับ)

นี่เป็นความรู้สึกของคนที่ "อยู่กิน" กับข้อมูล ปวศ.การเมืองไทยสมัยหลัง 2475 มาหลายสิบปีจนไม่ค่อยเจอข้อมูลหรือมุมมองที่ทำให้ตื่นเต้นเซอร์ไพรซ์ได้ง่ายๆ

ในบทความนี้ คุณธนาวิ ได้ "ขุด" เอาเรื่องเล็กๆเรื่องหนึ่งทีไม่ค่อยมีคนรู้กัน มาเล่

คือ ในระหว่างปลายปี 2494 ถึงต้นปี 2496 องค์กรศิลปินตะวันตกองค์กรหนึ่ง ได้ติดต่อมาทางรัฐบาลไทย ขอให้จัดให้ปติมากรไทย ส่งผลงานเข้าประกวด ออกแบบอนุสาวร์ย์ "อนุสาวรีย์นักโทษการเมืองที่ไม่มีใครรู้จัก" (Monument to the Unknown Political Prisoners)

รัฐบาลไทย ของ จอมพล ป. ก็ประสานงานให้ปติมากรไทย 5 คนส่งแบบอนุสาวรีย์ไป ในจำนวนนี้ ผลงานออกแบบของ "เขียน ยิ้มศิริ" ได้รับเลือกจากกรรมการจัดงาน ให้เป็นตัวแทนจาก ปท.ไทย ไปแสดงในงานนิทรรศการผลงานประกวด ทีจัดที พิพัธภัณฑ์ เทต ประเทศอังกฤษ ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2496 แต่ไม่ได้รางวัลอะไร

คุณธนาวิ ได้เล่าเรืองนี้ ในปริบทของ "สงครามเย็น" ระหว่างค่ายตะวันตกทีมีสหรัฐเป็นผู้นำ กับ ค่ายโซเวียต คุณธนาวิ อธิบายให้เห็นว่า "สงครามเย็น" ดังกล่าว ขยายมาถึงปริมณฑล ศิลปวัฒนธรรม อย่างไร โดยเฉพาะในแง่รูปแบบศิลป ซึงค่ายตะวันตกได้โปรโมทศิลปแบบ Abstract (นามธรรม) อย่างจงใจ เพื่อต่อต้านรูปแบบศิลป Socialist Realism ของค่ายโซเวียต

สำหรับคนทีรู้เรืองศิลปแบบงูๆปลาๆอย่างผม เรืองนี้เป็นเรืองใหม่ทีผมไม่รู้มาก่อน และช่วยอธิบาย "แบ็กกราวน์" ของศิลป Abstract ทีผมทันพบเห็นสมัยเด็กๆด้วยความสงสัย

คุณธนาวิได้โยงเรื่องนี้มาทีประเทศไทยว่า พัฒนาการศิลป abstract นี้ ยังไม่มีอิทธิพลต่อศิลปินไทย (รวมทั้งตัว เขียน ยิ้มศิริ) มากนักในทศวรรษ 2490 ศิลปินไทยยังคงผลิตงานศิลปะในแนวที่เป็นรูปเป็นร่าง (figuration) ทำนอง "เหมือน" หรือคล้ายของจริง ("realism") มากกว่า

ประเด็นหนึงทีตอนผมเริ่มอ่านบทความ ผมนึกว่าคุณธนาวิจะกล่าวถึง แต่พออ่านทั้งบทแล้ว ปรากฏว่าไม่มี (และบันทึกสั้นๆของผมนี้ ขอถือเป็นการ "เสริม" ส่วนทียัง "ขาด" ไปนี้ก็แล้วกัน)

คือ การทีประเด็นเรือง "นักโทษการเมือง" ทีศิลปินไทย โดยเฉพาะคุณเขียน ยิ้มศิริ ส่งงานเข้าประกวดนั้น ความจริง เป็นความ irony อย่างร้ายกาจในปริบทสังคมไทยอย่างไร

คุณธนาวิ เขียนว่า "ตัวปติมากร [ไทย] เองก็ไม่เคยเห็นหรือเคยผ่านประสบการณ์นักโทษการเมืองในลักษณะดังกล่าว" (หมายถึง นักโทษการเมืองทีเกิดขึ้นในค่ายโซเวียต ซึงในที่สุดแล้ว การจัดการประกวดนี้เป็นส่วนหนึงของ "สงครามวัฒนธรรม" ทีฝ่ายตะวันตก ทำกับค่ายโซเวียต เพื่อ "ไฮไลต์" ปัญหาเรืองนี้ของค่ายโซเวียต) และ "ประเทศไทยในยุคที เขียน (ยิ้มศิริ) สร้างแบบร่างนี้ขึ้นมา ยังไม่เคยผ่านประสบการณ์นักโทษการเมืองในลักษณะเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งทีสอง..." ดังนั้น เขียนและปติมากรไทยคนอืน ทีส่งงานเข้าประกวดจึงต้อง "จินตนาการ" เอา ในการคิดสร้างงานขึ้นมา

ความ irony มากๆของเรืองนี้คือ อันทีจริง ขณะที่ เขียน ยิ้มศิริ สร้างงาน "อนสาวรีย์นักโทษการเมืองทีไมมีใครรู้จัก" ส่งเข้าประกวดนั้น ประเทศไทย กำลังอยู่ในท่ามกลางการกวาดจับนักโทษการเมืองครั้งมโหฬารพอดี ในกรณีทีเรียกวา "กบฏ 11 พย. 95" (บางทีเรียกกันว่า "กบฏสันติภาพ" แต่ความจริง นักโทษการเมืองทีถูกกวาดจับในคร้ังนั้น มีมากกว่ากลุ่มทีเคลื่อนไหวเรือง "สันติภาพ" ยังมีกลุ่มทีเรียกว่า "ขบวนการกู้ชาติ" ด้วย เป็นต้น) มีผู้ถูกกวาดจับนับร้อย และส่งฟ้องศาลและถูกตัดสินจำคุกหลายสิบคน (รวมทั้งคนอย่าง กุหลาย สายประดิษฐ์ สุพจน์ ด่านตระกูล สมัคร บุราวาศ ฯลฯ)

ตามบทความคุณธนาวิ เขียน ยิ้มศิริ ใช้เวลาคิดว่าจะสร้างผลงานออกมาในรูปใดนานมาก แต่ใช้เวลาทำจริงๆ ไม่นาน (เขียน เล่าว่า ใช้เวลาคิด : เวลาทำ ประมาณ 10:1) และเรารู้ว่า เขียน ดำเนินการเรืองขนส่งผลงานของเขาไปทีอังกฤษในเดือนธันวาคม 2495 ซึงถ้าถือตามนี้ แสดงว่า เขียน น่าจะกำลัง "ปั้น" หรือเพิ่ง ปั้น งานของเขาเสร็จ ในท่ามกลางการเกิด นักโทษการเมือง กรณี 11 พย. พอดี!

แน่นอน การที เขียน ใช้เวลานานในการคิดก่อนจะลงมือทำ แสดงว่า ตอนทีมีการกวาดล้าง 11 พย นั้น เขาคงได้ข้อสรุปแล้วว่าจะทำงานออกมาอย่างไร (ตอนมีการกวาดจับจริงๆ อาจจะกำลังลงมือ "ปั้น" อยู่ หรือ ปั้นไป ใกล้เสร็จแล้วก็ได้) ดังนั้น ก็เป็นความจริงอยู่บ้างว่า ประเทศไทยยังไม่ได้เกิด "ประสบการณ์" เรืองกวาดจับนักโทษการเมืองครั้งใหญ่

แต่ถ้าพูดให้ถึงทีสุดแล้ว ก็ไมใช่เสียทั้งหมด ในปี 2491 (หลังการรัฐประหาร 2490) มีการกวาดจับประชาชนจากภาคอีสานในข้อหา "กบฏแยกดินแดน" (มีครู ครอง จันดาวงศ์ ถูกจับด้วยคนหนึง) แม้คนเหลานั้น จะได้รับการเปล่อยออกมาในปีต่อมา แต่ทีสำคัญ ในปี 2492 หลังกรณี "วังหลวง" ก็มีการกวาดจับผู้ทีถูกกล่าวหาว่า มีส่วนร่วมในการ "กบฏ" คร้้งนั้นอีก ทีเป็นเรือง "ฉาวโฉ่" มากๆคือ "นักโทษการเมือง" ทีมีชื่อเสียงมาก 4 คน จากกรณีดังกล่าว ถูกนำไป "ยิงทิ้ง" ทีบางเขน (กรณีฆ่า 4 อดีตรัฐมนตรี - มีคนอืนในกรณี "กบฏ" ครั้งนั้น ถูกตำรวจยิงทิ้งทันทีหลังเหตุการณ์ยุติ) หลังกรณี "กบฏแมนฮัตตัน" ในปี 2494 ก็มีผู้ถูกจับกุมร่วม 1000 คน

ต่อให้ไม่นับกรณีเหล่านี้ ในกรณี "สันติภาพ - 11 พย" น้้น แม้ เขียน อาจจะคิดผลงานของตัวเองก่อน หรืออาจจะสร้างเสร็จพอดีหรือกระทังก่อนทีจะมีการจับกุม แต่เมือถึงเวลาทีผลงานของเขา ถูกนำออกแสดง ในเดือนมีนาคม-เมษายน 2496 (ในฐานะเป็นส่วนหนึงของ การทำสงครามวัฒนธรรม ต่อต้าน โจมตีค่ายคอมมิวนิสต์ เรือง "นักโทษการเมือง") คุกในประเทศไทยเอง ก็กำลังเต็มไปด้วย "นักโทษการเมือง" เป็นร้อยคน

นีคือ ความ irony อย่างร้ายกาจ ของการส่งผลงาน "นักโทษการเมือง" ของศิลปินไทยเข้าประกวด โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยเองในคร้ังนั้น ....