Sunday, November 3, 2013

ทำไม ตามหลักการประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์จะมีพระราชดำรัสต่อสาธารณะด้วยพระองค์เอง ไม่ได้




ทำไม ตามหลักการประชาธิปไตย พระมหากษัตริย์จะมีพระราชดำรัสต่อสาธารณะด้วยพระองค์เอง (พระราชดำรัส "สด" หรือ พระราชดำรัส ที่ไม่ใช่มาจากการร่างหรือเห็นชอบล่วงหน้าของรัฐบาล) ไม่ได้ - อนุสนธิจากการที่มีการเผยแพร่พระราชดำรัสกรณีเขื่อนแม่วงก์

ความจริงนี่เป็นประเด็นที่ผมเคยเขียนมาหลายครั้ง ตั้งแต่ปี 2550 (1 ในข้อเสนอ 8 ข้อของผมก็มีเรืองนี้) แต่ขออธิบายโดยย่ออีกครั้ง

เหตุผลง่ายๆที่ทำไมในประเทศประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข เขาจึงมี "ประเพณี" ทีไม่ให้กษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะด้วยพระองค์เอง คือในลักษณะ "สดๆ" หรือต่อให้ทรงอ่าน แต่ถ้าเป็นร่าง ของพระองค์เอง ไมใช่โดยรัฐบาลร่างให้ ก็ไม่ได้

ก็เพราะถ้าให้กษัตริย์ "พูด" ต่อสาธารณะด้วยพระองค์เองได้ (ไม่ว่าในรูปแบบ "สด" หรือมีร่าง แต่เป็นร่างของพระองค์เอง)

ก็ต้องให้สาธารณะ คือประชาชนแสดงความเห็น วิพากษ์ โจมตี พระราชดำรัสนั้นได้เช่นกัน - เพราะจะกดทับหรือละเมิดสิทธิพื้นฐานทีสุดของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยในเรืองนี้ คือห้ามแสดงความเห็นวิพากษ์โจมตี คำพูดหรือการแสดงความเห็นของบุคคลากรของรัฐ ไม่ได้

พูดอีกอย่างคือ ถ้าไมต้องการให้กษัตริย์ถูกวิพากษ์โจมตีได้ ก็ต้องไม่ให้แสดงความเห็นของพระองค์เองต่อสาธารณะ (เพราะไมมีประเทศประชาธิปไตยทีไหน คิดว่า ถุ้ามีบุคคลากรรัฐแสดงความเห็นของตัวเองต่อสาธารณะแล้ว จะห้ามประชาชนเป็นสิบๆล้าน ไมให้มีปฏิกิริยาโดยเสรีได้)

ดังนั้นตามหลักการประชาธิปไตย ประเทศประชาธิปไตยทีมีกษัตริย์เป็นประมุข (คือถ้าเป็น "ระบอบประชาธิปไตย ทีมีกษัตริย์เป็นประมุข" จริงๆ) เขาจึงไม่ให้กษัตริย์มีพระราชดำรัสเอง แต่เป็นพระราชดำรัสทีรัฐบาลร่างให้ หรือรับรองเห็นชอบด้วย (คือ "ลงนามรับสนอง" ในความหมายตามหลักการแท้จริง นั่นคือ คนลงนาม เป็นผู้ทำ และมีอำนาจในการกระทำนั้นจริง จึงต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้น รวมถึงการถูกวิพากษ์โจมตีจากการกระทำนั้น)

แต่ในประเทศไทย ประมาณ 50 ปีทีผ่านมา มีการให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะด้วยพระองค์เองได้ มีการเผยแพร่พระราชดำรัสทีมีต่อเจ้าหน้าที่ ต่อสาธารณะ (เช่นในการเข้าเฝ้าถวายรายงานหรือปรึกษาหารือต่่างๆ) ซึงขัดกับหลักการประชาธิปไตย (หลักการทีว่า กษัตรย์มีสิทธิจะได้รับการปรึกษา right to consult หรือสิทธิในการตักเตือนรัรฐบาล right to warn หมายถึงจะต้องทำในที่รโหฐาน และไม่มีการเผยแพร่ใดๆ เพราะถ้าเผยแพร่ ก็จะอยู่ในฐานะเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณะ ที่จะห้ามไมให้สาธารณะแสดงความเห็นวิพากษ์ไม่ได้)

บวรศักดิ์ อุวรรโณ เคยอ้างหลายครั้งว่า ประเทศไทย ไมเหมือนอังกฤษ คือเราไม่เคยมีประเพณีห้ามไม่ให้กษัตริย์พูดต่อประชาชนโดยตรง (ตามข้อมูลบวรศักดิ์เอง กษัตริย์อังกฤษ พูดด้วยพระองค์เองต่อประชาชนได้เพียง 2 กรณี คือ อวยพรคริสต์มาส และต่อ ประเทศเครือจักรภพ)

ซึงผิดข้อเท็จจริงอย่างแรง เพราะจริงๆ ประเทศไทย เคยมี "ประเพณี" ทีว่านี้อยู่จริงๆ ตั้งแต่หลัง 2475 มาจนถึงไม่กีปีหลังสฤษดิ์ขึ้นครองอำนาจ (แต่จริงๆแล้ว แม้จนกระทังใกล้ๆ 14 ตุลา คือเข้าทศวรรษ 2510 แล้ว แม้แตรัฐบาลถนอมเอง บางคร้้้ง ก็แสดงความไมสบายใจในเรื่องนี้ (อันนี้ ตามที่ในหลวงทรงเล่าเป็นนัยๆเอง ในพระราชดำรัสช่วงนั้น) พูดง่ายๆคือ การปฏิบัติในลักษณะทีเห็นทุกวันนี้ เป็นอะไรทีค่อยๆมากขึ้นๆ .. โดยเฉพาะตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา - ดูบทความนี้ของผม https://www.facebook.com/photo.php?fbid=346084468778172 หรือในบทความ "เราสู้" ตอนต้นๆบทความ http://somsakwork.blogspot.com/2007/11/2518-2519.html

เรืองนี้ได้รับการยืนยัน จากพระราชดำรัสของในหลวงเอง เมือ่วันที่ 21 เมษายน 2503 ในการพระราชทานปริญญาทีจุฬา ดังนี้ (ดูภาพประกอบ ตัดมาจากหนังสือ "ประมวลพระราชดำรัส")

"...ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ดีและไม่ดี ตามประเพณีการปกครองประเทศ โอวาทของพระมหากษัตริย์หรือพระราชดำรัสต้องเขียนเพื่อให้รัฐมนตรีรับสนอง แต่เดี๋ยวนี้ก็กำลังพูดไม่ใช่อ่าน เพราะว่าได้ทำตามประเพณีอันหนึ่งของคนไทยไม่สู้ดี คือ ทำเกินประเพณีฝรั่ง โอวาทนี้เพิ่งเตรียมเมื่อบ่าย ๒ โมงนี้เท่านั้นเอง ควรจะเตรียมมานานแล้ว แต่เห็นว่าไม่จำเป็น อาจจะไม่รู้เรื่องเท่าไรนัก นี่ตัวอย่างประเพณีที่ไม่ดีที่เราไม่ควรจะทำตาม..."