Saturday, November 2, 2013

ว่าด้วยกรณี "คุณชาย จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์" กำลังจะแต่งงาน กับปัญหา "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์"


ว่าด้วยกรณี "คุณชาย จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์" กำลังจะแต่งงาน กับปัญหา "กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์"

ก่อนอื่นต้องขอสารภาพว่า เมื่อวาน ตอนผมเห็น "ข่าวนอกพระราชสำนัก"* ล่าสุด ของ "ไทยอีนิวส์" เรือง "คุณชาย จุฑาวัชร" กำลังจะแต่งงาน [* คำว่า "ข่าวนอกพระราชสำนัก" ผม "ยืม" มาจากเพื่อนท่านหนึง ที่เขียนในห้องปิด ผมเห็นว่าเท่ห์ดี แต่ไม่แน่ใจว่า เจ้าตัวอยากให้ผมให้เครดิตหรือไม่]

ผมก็เพียงแต่ยิ้มๆ ไม่ทันได้คิดอะไร (เพราะเหนื่อยมาก หลังจากเล็คเชอร์ 6 ชม.)

แต่พอดีมีเพื่อนอีกท่านหนึง (ไม่แน่ใจว่าท่านนี้ต้องการให้ผมให้เครดิตเช่นกัน) เขียนมาหลังไมค์ว่า ประเด็นนี้ มีความน่าสนใจในแง่ที่ว่า ใน จดหมายจาก "เทพบุตร วิวัชรวงศ์" ทั้งสี่ (ฮ่าๆๆ อันนี้ ผมตั้งเอง เลียนแบบละคร) เมื่อ 2 ปีทีแล้ว มีตอนหนึ่งที "ท่านชาย" ทั้งสี่ ได้ยืนยันวา ไม่ได้สละสิทธิ์ต่างๆอย่างเต็มใจ แต่การทีจะแต่งงานคร้ังนี้ เท่ากับเป็นการสละสิทธิ์ตามกฎมณเฑียรบาลเรืองการสืบสันตติวงศ์ไป

เช้านี้ ได้มีเวลามาเช็คข้อมูลต่างๆ ผมคิดว่า มีประเด็นน่าสนใจ อยากตั้งข้อสังเกตดังนี้

(1) ก่อนอืน ผมได้กลับไปดูจดหมายจาก "ท่านชาย วิวัชรวงศ์" ทั้งสี่ เมื่อ 2 ปีก่อนอีกคร้้ง ไทยอีนิวส์ ได้นำคำแปลจดหมายนั้นของคุณ "ดวงจำปา" มาเผยแพร่อีกครั้ง พร้อมข่าวการจะแต่งงานนี้ด้วย แต่ปัญหาคือ คำแปลของคุณ "ดวงจำปา" นอกจากมีบางส่วนที่เซ็นเซอร์แล้ว ส่วนที่ไม่ได้เซ็นเซอร์บางตอนยังแปลไม่ตรงกับต้นฉบับภาษาอังกฤษด้วย (รวมถึงส่วนทีกำลังจะพูดนี้)

ในต้นฉบับภาษาอังกฤษ ส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการไม่สละสิทธิ์อย่างเต็มใจ มีดังนี้ (ดูต้นฉบับภาษาอังกฤษเต็มๆ ที เว็บไซต์ New Mandala โดยพิมพ์ search ใน Google คำว่า "New Mandala ..... sons ตรง ... ผมเซ็นเซอร์เอง แต่คงเดาคำกันได้ไม่ยาก)

"We never, at any time, voluntarily renounced our royal titles nor choose to surrender the “Mahidol” surname."

เราไม่เคย, ไม่ว่าเวลาใด, สละพระราชฐานันดรของเรา หรือเลือกที่จะคืน นามสกุล มหิดล อย่างเต็มใจ**

[** ผมแปล surrender แบบตรงๆ ว่า "คืน" และใช้คำธรรมดา "นามสกุล" ไม่ใช่ "ราชสกุล" แทน surname เพื่อให้เข้าใจง่ายและตรงๆกับภาษาอังกฤษ]

ข้อความนี้ อันทีจริง ไม่ชัดเจนว่า "ท่านชาย วิวัชรวงศ์" ทั้งสี่ กำลังคิดหรือหมายถึง "สิทธิ" ต่างๆ และยิ่งถ้าอ่านตัวจดหมายทั้งหมด ผมคิดว่า "ท่านชาย" น่าจะเพียงเล่าถึงกรณีที่ไม่ได้ใช้ "ราชฐานันดร" (คือชื่อเรียกแบบเจ้า) และ "นามสกุล" เท่านั้นมากกว่า แต่แน่นอนว่า "ราชฐานันดร" (หรือชื่อเรียกแบบเจ้า) ดังกล่าว ย่อมมาพร้อมกับ "สิทธิ" ต่างๆในฐานะเจ้าด้วย



(2) ในกฎมณเฑียรบาล 2467 มาตรา 11 ว่าด้วยบุคคลทีถูกยกเว้นจากลำดับการสืบราชสันติวงศ์ ข้อ (4) ระบุว่า "มีพระชายาเป็นนางต่างด้าว"

ดังนั้น ในกรณีที "คุณชาย จุฑาวัชร" แต่งงานในเดือนกันยายนนี้ ก็ย่อมตกอยู่ในข้อยกเว้นนี้ไปโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม ขอให้สังเกตว่า กฎมณเฑียรบาล มีมาตรา 13 ทีระบุว่า "ห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใดๆ เข้าไว้ในลำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด"

แต่ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน ก็มีมาตราทีระบุอนุญาตให้ บางกรณีสามารถเสนอพระนามพระราชธิดาขึ้นครองราชย์ได้ (มาตรา 23 วรรคสอง กรณีที่กษัตริย์ไม่ได้ตั้งรัชทายาทไว้ แล้วราชบัลลังก์ว่างลง ให้องคมนตรีเสนอพระนามพระราชวงศ์ รวมถึงอาจจะพระราชธิดา ต่อ ครม.เห็นชอบ)

หมายความว่า ถ้ามีรัฐธรรมนูญระบุไว้เป็นอย่างอืน กฎมณเฑียรบาลบางข้อ ก็ไม่มีผลบังคับใช้ได้

แน่นอน กรณีมาตรา 11(4) เรื่องห้ามบุคคลที่มีชายาเป็นนางต่างด้าวนั้น ไม่มีมาตราใดในรัฐธรรมนูญที่ ยกเว้น หรือ overwrite แบบนี้ ดังนั้น มาตรา 11(4) จึงยังมีผลบังคับใช้เต็มที่

หมายความว่า การแต่งงานของ "คุณชาย จุฑาวัชร" มีผลในการยกเว้นสิทธิเรื่องสืบสันตติวงศ์ของท่านโดยปริยายจริงๆ


(3) อย่างไรก็ตาม ในทางทฤษฎี กรณีในข้อ (1) เรืองราชฐานันดร สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการสถาปนาขึ้นใหม่ ขณะที่กรณีที่ (2) นั้น ถ้าจะเปลี่ยนแปลง จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการ ยกเว้น (overwrite) กฎมณเฑียรบาล มาตรา 11(4) (แบบเดียวกับที่ ยกเว้น เรืองพระราชธิดา)

จากสภาพการณ์ในปัจจุบัน ผมยังไม่เห็นว่า มีโอกาสหรือความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นแต่อย่างใด