The fact must be set straight that, as a constitutional monarch, His Majesty is, my law and in practice above politics and has never overstepped his constitutional duties nor interfered in political matters.ข้อเท็จจริงที่ต้องได้รับการทำให้ชัดแจ้งคือ ในฐานะกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ, ทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติ, ในหลวงทรงอยู่เหนือการเมือง และไม่เคยเลยที่จะทรงก้าวข้ามหน้าทีตามรัฐธรรมนูญ และไม่เคยเลยที่จะเข้ายุ่งเกี่ยวในเรื่องการเมืองหนังสือประท้วงของกระทรวงการต่างประเทศไทย ต่อ แดน ริเวอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 (ขอบคุณ คุณ Pedz Yukz และคุณ P-doubleok LeLapin)
วันที่ 16 สิงหาคม 2519 ประภาส จารุเสถียร หรือ "ทรราชประภาส" ได้แอบลอบกลับเข้ามาในประเทศไทย นักศึกษาได้ก่อการประท้วงขึ้นทันที เรียกร้องให้รัฐบาลไล่ประภาสออกนอกประเทศหรือนำตัวมาลงโทษตามกฎหมาย ในฐานะผู้รับผิดชอบต่อการปราบปรามประชาชนเมื่อ 14 ตุลา 2516 จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 70 คน พิการและบาดเจ็บอีกนับร้อย
หลังจากชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม แล้ว, สองวันต่อมา นักศึกษาก็เริ่มการชุมนุมยืดเยื้อเรียกร้องให้เอาผิดประภาส โดยเริ่มชุมนุมที่สนามหลวง แล้วย้ายเข้าไปปักหลักในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การชุมนุมยืดเยื้อมาถึงวันที่ 21 สิงหาคม ในช่วงเย็น ระหว่างที่ขบวนของนักศึกษารามคำแหงเดินทางมาร่วมชุมนุม กลุ่มกระทิงแดง ได้ปาระเบิดและยิงปืนเข้าใส่ ที่บริเวณประตูมหาวิทยาลัยด้านหอประชุมใหญ่ ทำให้มีคนตาย 2 คน บาดเจ็บกว่า 30 คน
แต่ผลจากการประท้วง และการเสียสละชีวิตและร่างกายของนักศึกษาและประชาชนนี้ ทำให้รัฐบาลสามารถไปเจรจาบีบให้ประภาส ยอมรับที่จะออกนอกประเทศไป ในวันต่อมา (เดิมประภาสอ้างว่า จะขออยู่ 7 วัน แล้วจะกลับออกไป) นายสุรินทร์ มาศดิษถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชน ถึงการเจรจา ดังนี้
วันที่ 22 สิงหาคม 2523 ประภาส ได้เดินทางกลับออกนอกประเทศไปอีกครั้ง แต่สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือ ก่อนการเดินทางออกนอกประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประภาส เข้าเฝ้า การได้เข้าเฝ้าครั้งนั้น เกิดขึั้น หลังจากรัฐบาลได้เจรจาจนประภาส ได้ยอมออกนอกประเทศแล้ว และก็เป็นการเข้าเฝ้าโดยประภาสคนเดียว ไม่มีตัวแทนรัฐบาลเข้าเฝ้าด้วย ดังนั้น จึงไม่ใช่เงื่อนไขที่ประภาสใช้มาต่อรองกับรัฐบาลในการยอมออกนอกประเทศ (รัฐบาลไม่มีความสามารถจะเอาราชสำนักมาต่อรองได้อยู่แล้ว) และไม่ใช่การพาเข้าเฝ้าของรัฐบาล พูดง่ายๆคือเป็นเรื่องระหว่างราชสำนักกับประภาส ยิ่งกว่านั้น การเข้าเฝ้านี้ เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่ผู้ประท้วงได้ถูกทำร้ายจนบาดเจ็บล้มตายหลายคน
ที่ "ประหลาด" คือ ในขณะที่ หนังสือพิมพ์อย่าง ไทยรัฐ พาดหัวเรื่องประภาสเข้าเฝ้่าก่อนเดินทางกลับ แต่กลับไม่มีกล่าวถึงเรื่องนี้เลยในเนื้อข่าว
เท่าที่ผมหาได้ มีแต่ ประชาชาติ ที่ทั้งพาดหัว และ "รายงานข่าว" สั้นๆ คือ เพียงเอาคำแถลงของสำนักพระราชวังมาลง ไม่กี่บรรทัด
การให้ประภาสเข้าเฝ้านี้ อาจจะดูเป็น "เรื่องเล็ก" แต่ถ้าคำนึงถึงสถานะของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยและปริบทของสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง นัยยะของการให้ประภาสเข้าเฝ้านี้ก็ใหญ่หลวงมาก เพียงแต่เราไม่มีเสรีภาพเต็มที่ในการอภิปรายเท่านั้น อย่างน้อยที่สุด ก็เห็นได้ชัดว่า "วาทกรรม" ที่เราได้ยินกันบ่อยๆเรื่อง "ในหลวงไม่เคยเลยที่จะเข้ายุ่งเกี่ยวในเรื่องการเมือง" ของกระทรวงการต่างประเทศ หน่วยงานรัฐอื่นๆ และราชสำนักเอง เป็นเรื่องไม่จริง ตรงกันข้าม ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ตั้งแต่ปลายปี 2494 เป็นต้นมา ถ้าจะหยิบยกมาอภิปรายกันได้เต็มที่จริงๆ มีเรื่องแบบนี้มากมาย กรณีประภาสเข้าเฝ้า เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น