Thursday, June 20, 2013

ในหลวง กับ เปรม : ในหลวงทรงพระราชทาน "ดอกบัว" ให้เปรม หลังทรงฟื้นจากการประชวรหนัก (กรกฎาคม-สิงหาคม 2525) และประเด็น Mass Monarchy

December 29, 2010




Timeline Photos



ในหลวง กับ เปรม : ในหลวงทรงพระราชทาน "ดอกบัว" ให้เปรม หลังทรงฟื้นจากการประชวรหนัก (กรกฎาคม-สิงหาคม 2525) และประเด็น Mass Monarchy

ถ่ายมาจาก The Nation ฉบับวันที่ 5 สิงหาคม 2525 (The Nation ถ่ายภาพนี้มาจากทีวีอีกต่อหนึ่ง ภาพจึงไม่ค่อยชัด)

นี่คือภาพเหตุการณ์ ที่ Paul Handley บรรยายอยู่ในหนังสือ The King Never Smiles หน้า 283 มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ Handley กล่าวคลาดเคลื่อน ซึ่งความเคลื่อนเคลื่อนนี้มีนัยยะสำคัญไม่น้อยในทัศนะผม คือ Handley กล่าวว่า ภาพเหตุการณ์นี้ได้รับการถ่ายทอดและตีพิมพ์ทางทีวี และหนังสือพิมพ์ ความจริง มีแต่คลิป (สมัยนั้นไม่ใช้ศัพท์นี้) ฉายออกทางทีวีเท่านั้น (และก็มีเพียงวันเดียว) ไม่มีหนังสือพิมพ์ฉบับใดเลย ตีพิมพ์ภาพตามที่บรรยายโดย Handley คือภาพในหลวงทรงพระราชทานดอกบัวให้เปรม (หรือ 2 ภาพบนสุดที่เห็นนี้) มีแต่ภาพล่างสุดเท่านั้น (ในหลวงทรงเดินนำหน้า เปรมเดินตามหลัง ในวังสวนจิตลดา) และการรายงานข่าวทาง นสพ. ก็เป็นเพียงรายงานแบบไม่ได้ให้ความสำคัญเด่นชัด ข่าวการประชวรหนักนี้ (หนักมาก- ดูที่ Handley อธิบายข้างล่าง) ... (ยกเว้น The Nation ฉบับเดียว ที่ผมถ่ายมาให้ดูนี้ และสังเกตว่า ภาพชุดนี้อยู่ในหน้า 4 ไม่ใช่หน้าแรก หน้าแรกมีเพียงภาพทรงเดินในสวนจิตรเหมือน นสพ.อื่นๆ)

นี่เป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึง ที่, ในความเห็นของผม, แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงสำคัญ ของ "ภาพลักษณ์" หรือ "การนำเสนอ" (representations) เกี่ยวกับในหลวงและสถาบันกษัตริย์โดยรวม ในบริบทการเมืองวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่ช่ววทศวรรษ 2530 และ 2540 เป็นต้นมา (ดูที่ผมอภิปรายเรื่องนี้กับ อ.ศาสวัต บุญศรี ในโพสต์ไม่กี่วันก่อน) นั่นคือ การเปลี่ยนจากลักษณะที่ "ปิด" หรือ "กึ่งปิด" ในลักษณะ "สถาบันศักดิ์สิทธิ์" (ช่วง 3 สัปดาห์ที่ประชวรหนัก แทบจะไม่มีข่าวทั้งทาง ทีวี และ นสพ.เลยโดยสิ้นเชิง) กลายมามีลักษณะที่ผมเรียกว่า "Mass Monarchy" (สถาบันกษัตริย์แบบมวลชน) ลองนึกถึงการ "นำเสนอ" เรื่องพระอาการประชวร ในไม่กี่ปีนี้ ทั้งทาง นสพ. และทีวี รวมถึงการ "ระดม" และส่งเสริมการ "เข้าร่วม" ของ "ประชาชน" และ "สังคม" (ลงนามถวายพระพร, ชุมนุมเฝ้าระหว่างประทับที่ โรงพยาบาล, ชุมนุม 2 ข้างทางเมื่อเสด็จออกจากโรงพยาบาล ฯลฯ) ในกรณีการประชวนปี 2525 เมื่อทรงหายจากประชวร ในต้นเดือนสิงหาคม ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้สั่งให้ โรงเรียนต่างๆ ทำพิธีสวดมนต์ในตอนเช้าเพื่อถวายพระพร ปรากฏว่า ไทยรัฐ ได้ตระเวนตาม โรงเรียนหลายแห่ง ในกรุงเทพ (นึกดูนะครับ ในกรุงเทพไม่ใช่ต่างจังหวัด) ปรากฏว่า ไทยรัฐ พบว่า มีหลายโรงเรียน ไม่มีการทำพิธีดังกล่าว เพราะไม่ทราบคำสั่งนั้น!! ลองนึกเปรียบเทียบกับสมัยนี้ดู ที่ข่าวการประชวรเป็นเรื่อง "ประจำวัน" ขนาดไหนในชีวิตทางสังคมของไทย

ต่อไปนี้ คือคำบรรยายของ Handley ผมขออนุญาต ไม่แปล

For the next seven turbulent years the king's umbrella sheltered Prem from challenges in both the military and the parliament. The two met constantly, and the king made regular reminders to the public of his support. One occasion was striking in its use of traditional Buddhist symbolism. In July 1982, Bhumibol fell very ill of a mycoplasmic infection and pneumonia, and the palace feared he might die. He later said he went "through the twilight zone." After three weeks in bed, he emerged for a stroll around the Chitrlada gardens. He walked alone, with the crown prince, Sirindhorn, and then Prem following behind. The very positioning ranked Prem like a senior prince of Chakri blood. Bhumibol asked a lady-in-waiting to pick a lotus from a palace pond. She passed the lotus to Prem, who knelt and proffered it to the king. He accepted the flower, gazed at it, and then gently presented it back to Prem.

The scene was reproduced on television and in newspaper, and the symbolism was readily apparent. The lotus represents purity and enlightenment, and is commonly presented to monks as recognition of their spiritual transcendence. For a palace lady to give the flower to Prem recognizes that he is the most virtuously qualified to offer it to the dhammaraja. Holding the flower, the king further imbued it with his own grace. He then presented it to Prem, confirming Prem's own great virtue.