Friday, June 21, 2013

ข้อมูลเล็กๆจากโทรเลขวิกิลีกส์: ในหลวง คงได้อ่าน The King Never Smiles ระหว่าง 28 มีนาคม - 25 เมษายน 2549

by สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (Notes) on Monday, July 25, 2011 at 10:08pm





ข้อมูลเล็กๆ จาก โทรเลขวิกิลีกส์-แอนดรู แม็คเกรเกอร์ มาร์แชล: ในหลวง คงได้อ่าน The King Never Smiles ระหว่าง 28 มีนาคม - 25 เมษายน 2549 และ สุรยุทธ์ จุลานนท์ บอกว่า พระราชดำรัส "ตุลาการภิวัฒน์" (วันที่ 25 เมษายน 2549) ส่วนหนึ่งเป็นการตอบโต้ หนังสือของ Paul Handley 


(ข้อมูลบางส่วนผมเคยเล่าไปบ้าง ตั้งแต่มีการเผยแพร่โทรเลขพร้อมบทความตอนแรกสุดของคุณแอนดรู)


ในโทรเลข 06BANGKOK1872 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2549 ทูตอเมริกันได้บันทึกว่า

ทูตได้เข้าพบ อาสา สารสิน ราชเลขาธิการ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม เพื่อมอบหนังสือชีวประวัติในหลวงอันเป็นที่ถกเถียงกัน ฉบับตัวอย่างที่พิมพ์ล่วงหน้าออกมาก่อน (advance copy) ก่อนจะพิมพ์ในสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤษภาคม

The Ambassador called on Asa Sarasin, the King's Principal Private Secretary, on March 28 to deliver an advance copy of the controversial biography of the King that is slated to be published in the United States in May.

เป็นไปได้ว่า อาสา คงถวายหนังสือให้ในหลวงได้ทอดพระเนครอ่าน และเป็นไปได้ว่า ในหลวงได้ทรงอ่าน หรืออย่างน้อย มีผู้สรุปให้ทรงทราบเนื้อหา ก่อนวันที่ 25 เมษายน 2549

เพราะในโทรเลข 06BANGKOK2988 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2549 สุรยุทธ์ จุลานนท์ บอกทูตอเมริกันว่า พระราชดำรัสต่อตุลาการศาลปกครองและศาลฎีกา เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 (ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ "ตุลาการภิวัฒน์") ส่วนหนึ่งเป็นการตอบโต้คำวิจารณ์ของ Paul Handley ใน The King Never Smiles

Surayud explained that the King's recent remarks to key judges emphasizing his position as a "monarch under the Constitution" were made in part as a response to allegations made in Paul Handley's yet-to-be-published book "The King Never Smiles" which assert that the King has little respect for democratic principles.  Surayud was convinced that the King intended to see the present political stand-off resolved through the courts.  Surayud went on to say that his contacts within the judiciary expected it would take at least two or three months before the courts would be able to render decisions in all of the cases having an impact on the political situation.

สุรยุทธ์ อธิบายว่า พระราชดำรัสของในหลวงต่อตุลาการเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งทรงย้ำสถานะของพระองค์ว่าเป็น "พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" นั้น มีขึ้นส่วนหนึ่งเพื่อตอบโต้ข้อกล่าวหาในหนังสือที่ยังไม่ตีพิมพ์ของ พอล แฮนลีย์ "The King Never Smiles" ที่อ้างว่า ในหลวงมีความเคารพต่อหลักการประชาธิปไตยเพียงน้อยนิด. สุรยุทธ์เชื่อมั่นว่า ในหลวงทรงปรารถนาที่จะเห็นการเผชิญหน้ากันทางการเมืองในขณะนี้ได้รับการแก้ไขโดยผ่านศาล. สุรยุทธ์กล่าวต่อไปว่า ผู้ที่เขาติดต่อได้ในวงการศาล คาดว่า จะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ถึง 3 เดือน ก่อนที่ศาลจะสามารถมีคำวินิจฉัยกรณีต่างๆที่จะมีผลต่อสถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้

.....