Saturday, June 22, 2013

ในหลวงในฐานะ "นักเขียน" (writer) และ "นักคิด-ผู้นำทางความคิด" (thinker) : ว่าด้วยการโปรโมท "พระอัจฉริยภาพ" อย่างหลังสุด

March 29, 2012




Timeline Photos



ในหลวงในฐานะ "นักเขียน" (writer) และ "นักคิด-ผู้นำทางความคิด" (thinker) : ว่าด้วยการโปรโมท "พระอัจฉริยภาพ" อย่างหลังสุด


...................

[กระทู้นี้ เป็นกระทู้ต่อเนื่องจากกระทู้ข้างล่าง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=323196211066998&set=a.137616112958343.44289.100001298657012&type=1 - ทั้ง 2 กระทู้นี้ ความจริง เป็นส่วนย่อยของการศึกษาค้นคว้าปรากฏการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ที่ผมมองว่า มีบางลักษณะเป็นสิ่งใหม่ ที่เพิ่งเกิดในช่วงประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา หรือเพิ่งเข้มข้นมากๆจริงๆ ประมาณทศวรรษเศษที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งผมเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Mass Monarchy ]

...................



สำหรับใครที่อายุยังไม่มาก เช่นประมาณไม่เกิน 30 หรือ 30 เศษ หรือแม้แต่คนที่อ่ายุมากแล้ว (รุ่นประมาณผมขึ้นไป เป็นต้น) แต่ไม่ทันได้คิดหรือสังเกต

อาจจะนึกว่า บรรดา "พระอัจริยภาพ" ต่างๆของในหลวง ที่เราเห็นโปรโมทกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว

ความจริง ตามที่ผมมอง เรื่องนี้มีลักษณะที่มีพัฒนาการหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างทีสำคัญและน่าสนใจมากอยู่

คือ ตั้งแต่ประมาณยุคสฤษดิ์ (จาก 2501) เป็นต้นมา ที่มีการโปรโมท "พระอัจฉริยภาพ" ของในหลวงในด้านด่างๆ โดยเริ่มจาก "พระอัจริยภาพ" ด้านการเป็น "นักดนตรี" ต่อมา ก็เป็น "นักกีฬา" (ทรงได้เหรียญทอง แข่งเรือ กีฬา เซียปเกมส์) "นักถ่ายภาพ" "นักวาดภาพ" นั้น

แต่ถ้าสังเกตดีๆ "พระอัจริยภาพ" สำคัญมาก ที่เราเห็นกันในปัจจุบัน คือ ความที่ทรงเป็น "นักเขียน" เป็น "พระอัจริยภาพ" ที่เพิ่งมีการมาโปรโมท ในไม่นานนี้เอง (ซึงผมมองว่าเป็นส่วนหนึงของปรากฏการณ์ Mass Monarchy ที่กล่าวถึง)

ถ้าเราดูรายชื่อ "งาน" ของในหลวง ที่เรารู้จักกันดีในทุกวันนี้ จะเห็นว่า เพิ่งมีการมาตีพิมพ์ ในปลายทศวรรษ 2530 ต่อต้นทศวรรษ 2540 เท่านั้น (ดูรูปประกอบ)


การเป็น "นักเขียน" หรือการมี "งานตีพิมพ์" นั้น พูดตามภาษาวิชาการ เรียกว่า เป็นอะไรบางอย่างที่มีลักษณะ quintessentially bourgeois คือมีลักษณะเป็น "วัฒนธรรมกระฎุมพี" ที่สำคัญมาก

การโปรโมท "พระอัจริยภาพ" ด้านนี้ของในหลวง และปรากฏการณ์ที่กว้างออกไป ที่ผมเรียกว่า Mass Monarchy นั้น ผมมองว่า เกิดขึ้นพร้อมๆกับการขยายตัวขึ้นมาเป็น "ชนชั้นนำทางสังคม" ของ "กระฎุมพีไทย" ที่เด่นชัดตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา และมีคาวมสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

ยิ่งกว่านั้น ลักษณะสำคัญอย่างหนึงของการโปรโมท "พระอัจริยภาพ" ของการเป็น "นักเขียน" ที่แตกต่างจากการโปรโมท "พระอัจริยภาพ" ด้านอืนๆ ในอดีต คือ

นี่เป็นการ "โปรโมท" ทีมีลักษณะอาศัย "กลไกตลาดมวลชน" (mass market) (ในอดีต เรื่อง "เพลงพระราชนิพนธ์" นั้น แม้จะแพร่หลายกว้างขวาง แต่ไม่ใช่มีลักษณะ "ผ่านกลไกตลาด" แบบนี้) ซึงลักษณะ mass market หรือ mass product นี้ เป็นลักษณะพิเศษสำคัญของเศรษฐกิจสังคมแบบกระฎุมพีสมัยใหม่เช่นกัน

..........


ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการโปรโมท "พระอัจริยภาพ" ความเป็น "นักเขียน" ดังกล่าวนี้ ก็มีการโปรโมท "พระอัจริยภาพ" ทีสำคัญมากอีกอย่างหนึง ที่มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิ

นั่นคือ ความเป็น "นักคิด" หรือ "ผู้นำทางความคิด"

(ในทางวิชาการนั้น กล่าวได้ว่า นี่เป็นลักษณะวัฒนธรรมแบบ quintessentially bourgeois อีกอย่างหนึ่ง ที่เกียวเนื่องกับการเป็น "นักเขียน")

คือ เรื่อง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่เรารู้จักกันดี

ทุกวันนี้ เราเคยชินกับประเด็นนี้ เสียจน หลายคนอาจจะไม่ทันคิดหรือสังเกตว่า

ความจริง นี่เป็นเรื่องใหม่มากทางประวัติศาสตร์

คือ ตลอดเวลาหลายสิบปี แม้แต่หลังจากสฤษดิ์ โปรโมทสถาบันกษัตริย์ขนานใหญ่แล้ว

ก่อนทศวรรษ 2540 ไม่เคยมีปรากฏการณ์ ที่โปรโมทในหลวง ในแง่ "ความคิด" มาก่อน

การนำพระราชดำรัสในโอกาสต่างๆมาอ่าน เผยแพร่ ทางวิทยุ ทีวี ตลอดเวลา เป็นคนละเรื่อง พระราชดำรัสทีนำมาเหล่านั้น ไม่ได้มีลักษณะเป็น "ไอเดีย" สำคัญ ชัดเจนในลักษณะ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ที่ว่านี้

ไมเคยมีถึงระดับที่นำเสนอ (representation) ว่า ในหลวง มีฐานะเป็น "ผู้นำความคิด" ที่มี "ไอเดีย" หรือ "ปรัชญา" เฉพาะบางอย่าง ที่สามารถใช้มา "ชี้นำ" ทิศทางสังคมได้ แบบที่เพิ่งเกิดขึนในกรณี "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" นี้


.................


มองในเชิงทฤษฎี ปรากฏการณ์ที่ผมพูดถึงนี้ ถ้าพูดในแง่ "ลักษณะชนชั้น" ผมคิดว่า มีสิ่งที่น่าสนใจ ที่อาจจะพูดแบบทัวไป (generalized) ได้ว่า "ฐานทางสังคม-ชนชั้น" ของสถาบันกษัตริย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา คือ เกิดการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้าย (shift) จาก "ชนชั้นชนบท" มาเป็น "ชนชั้นกลาง (กระฎุมพี) ในเมือง" . . .